นิทรรศการรวบรวม ผลงานปี 2515-2565 :โดย สมยศ หาญอนันทสุข
ภัณฑารักษ์ : มุก-พรทิพย์ อรรถการวงศ์ และธีรพจน์ ธีโรภาส

ด้วยความขอบคุณเป็นพิเศษ
Artist+ Run
19 มกราคม 2566 – 19 มีนาคม 2566
พิธีเปิดงาน 19 มกราคม 2566
18.00 – 21.00 น
ATT 19
19 กัปตันบุช เลน
เจริญกรุง 30 บางรัก กรุงเทพมหานคร

เขียนโดย ภัณฑารักษ์ มุก-พรทิพย์ อรรถการวงศ์ และธีรพจน์ ธีโรภาส

“ทุกครั้งที่ผมทำงานมันเหมือนการเดินทางครั้งใหม่ ที่ไม่ทราบจุดหมายปลายทาง ประสาทสัมผัสและประสบการณ์ ทำงานที่สั่งสมมานำทางผม และช่วยผมตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ถูกต้องและดำเนินต่อไปที่ละก้าว หากการเดินทา’หยุดชะงัก เราก็แค่วางแผนและสร้างเส้นทางใหม่ ปรับตัวจนไปถึงจุดหมาย ท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่ผู้คนได้รับจากภาพวาดของผมก็คือการเดินทางนั่นเอง”

สมยศ หาญอนันทสุข

การเดินทางเป็นสิ่งที่ สมยศ หาญอนันทสุข มีตลอดอาชีพการงานรวม 50 ปี แม้จะไม่ใช่นิทรรศการ Retrospective อย่างเป็นทางการ แต่ “50 Years in Munich : Bridge Over Troubled Water” ได้รวบรวมผลงานของสมยศ หาญอนันทสุข ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2565 นิทรรศการนี้แบ่งออกเป็น 3 ช่วงอย่างชัดเจนและเป็นการติดตาม เรื่องราวชีวิตของ สมยศ ศิลปินชาวไทยผู้เดินทางไปเริ่มต้นบทใหม่ของชีวิตในต่างแดน ศึกษาเส้นทางศิลปะของเขาแม้จะเผชิญกับความท้าทายและวิกฤตก็ตาม

สมยศ ศึกษาที่วิทยาลัยช่างศิลป์ และที่มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ ซึ่งในเวลานั้น เขาได้เป็นลูกศิษย์ของศิลปินและกวี จ่าง แซ่ตั้ง ต่อมาเขาได้ไปศ฿กษาต่อที่สถาบันศิลปะ เมืองมิวนิก ในประเทศเยอรมันโดยศึกษากับศาสตราจารย์ Günter Fruhtrunk หลังจากได้รับทุน DADD ในปี พ.ศ. 2515

ผลงานในยุคแรกๆ ของเขา เป็นงานในตระกูล Surrealism ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภาพขาวดำที่เขียนด้วยสีน้ำมันบนผ้าใบ เนื้อหาในงานของสมยศในช่วงแรกๆ สื่อถึง ความมืดมน ความกดดัน และความอึดอัด ผลงานในช่วงเวลานั้นสะท้อนถึงสภาพจิตใจของเขาในตอนนั้นโดยไม่รู้ตัว สมยศได้บรรยายผลงานของเขาในช่วงเวลานั้นว่า การทำงานศิลปะเป็นเสมอนำการบำบัดสภาวะของจิตใจและปัญหาโดยผ่านการทำงานของเขา

เมื่อเขามาใช้ชีวตที่เยอรมัน ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไป ทั้งสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวต ความรู้สึกและความกดดนแบบเดิมๆ เริ่มคลี่คลายไปด้วย แต่เขาก็ยังมีความเชื่อว่า เมื่อศิลปินทำงานและได้ค้นพบรูปแบบของงานของตัวเองแล้วก็ต้องทำงานในรูปแบบเดิมนั้นต่อไป แต่เนื่องจากสภาพชีวิต จิตใจ และความรู้สึกของเขาได้เปลี่ยนไปจากเดิม งานที่เขาที่ทำในรูปแบบเดิมที่เต็มไปด้วยปัญหาและความอึดอัด จึงไม่สามารถแสดงออกมาได้ ก่อให้เกิดปัญหา เกิดความขัดแย้งภายในตัวของเขาเอง และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นภาวะวิกฤตครั้งใหม่ ผลงานในเวลานั้นล่มเหลว และมีผลไปถึงสุขภาพของเขาด้วย นั้นจึงเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิตและการทำงานของเขา เขาได้เริ่มเข้ามาสัมผัสกับเรื่องการำบัดทางจิต เริ่มสนใจเรื่องการทำสมาธิ วิปัสสนา และได้ไปฝึกฝนไทชิ (Tai Chi) ตั้งแต่นั้นมา เขาเล่าว่าวิกฤตครั้งนั้นทำให้ความคิด ความเชื่อเดิมๆ ของเขาค่อยๆ เปลี่ยนไป เขาเลิกยึดสิ่งที่เคยทำในอดีต ชีวิตและการทำงานก็เปลี่ยนไปในทิศทางใหม่

ด้วยแรงบันดาลใจจากสิ่งทอโบราณของชาติต่างๆ เขาได้นำมาพัฒนามาเป็นผลงานภาพเขียนในช่วงเวลาหนึ่ง และอีกช่วงเวลาหนึ่งเขาก็ได้แรงบันดาลใจจากภาชนะเครื่องปั้นดินเผาของยุคอารต์เดโค (Art Deco) ที่นักออกแบบและศิลปินจากทุกสาขาวิชาได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะของภาคเอเชีย ผลงานของสมยศในช่วงเวลานี้มีการใช้เฉดสีมากขึ้นตัดกับสีดำ การบล็อกสีแบบแอ็บสแตร็กตด้วยเทคนิคต่างๆ เช่น การหยดสี เผยให้เห็นอิทธิพลของชายผ้าที่พลิ้วไหวของสิ่งทอที่เขาได้รับแรงบันดาลใจ

ทุกวันนี้ สมยศ มีความรู้สึกอิสระมากขึ้นในการทำงานแต่ละชิ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้มาพร้อมกับเวลา อายุ และประสบการณ์ เขาไม่ได้ทำงานจากแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจที่เป็นรูปธรรมอีกต่อไป แต่จากอารมณ์และความรู้สกของเขาในแต่ละช่วงเวลา เมื่อเวลาผ่านไป ไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่งานของเขาจะสะท้อนถึงสิ่งนั้น โดยเปลี่ยนจากความสมจริงที่มืดมนไปสู่การแสดงสี นามธรรมแบบไดนามิกในความเป็นไปได้ไม่รู้จบ

เห็นได้ชัดว่าชีวิตของ สมยศ หาญอนันทสุข เชื่อมโยงกับงานของเขาอย่างแท้จริง และเป็นประจักษ์พยานที่ดี สำหรับทุกคนและโดยเฉพาะอยางยิ่ง สำหรับศิลปินที่ต้องการแรงบันดาลใจ ในฐานะมนุษย์ เราสามารถ เปลี่ยนแปลง พัฒนา และกลายเป็นตัวตนที่แท้จริงที่สุดของเราได้ด้วยเวลา ความเข้มแข็ง และความอดทน นิทรรศการนี้ไม่ได้จัดตามลำดับเวลาเราหวังว่าผู้ชมจะพบตัวเองจมดิ่งไปกับทุกแง่มุมและทุกช่วงเวลา ซึ่งทำให้ สมยศ หาญอนันทสุข เป็นศิลปินที่เป็นที่นับถืออย่างทุกวันนี้